วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


โทษของยาเสพติด




โทษภัยต่อครอบครัว
 • ทำลายความสุขในบ้าน ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ตามมาจนอาจทวีความรุนแรงให้ครอบครัวแตกแยก
 • สูญเสียรายได้ของครอบครัว เนื่องจากมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการซื้อ ยาเสพติด หรือบำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด
 • พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขาดที่พึ่งในยามเจ็บป่วยหรือชราภาพ
 • ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล และเป็นที่รังเกียจของสังคม
 • ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เพราะคนในครอบครัวที่มีปัญหายาเสพติด มักจะก่ออาชญากรรม

โทษภัยต่อชุมชนและสังคม
 • ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆในชุมชน
 • เป็นบ่อเกิดให้ชุมชนเสื่อมโทรม สังคมถูกทำลาย
 • ทำลายเยาวชน อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนและสังคม
 • ทำให้การพัฒนาชุมชน และสังคมในด้านต่าง ๆเป็นไปอย่างเชื่องช้า
 • สูญเสียรายได้ของชุมชนและสังคม
 • ทรัพย์สินของคนในชุมชนและสังคมเสียหาย เนื่องจากพฤติกรรมทางจิตประสาท
 • ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุเนื่องจากฤทธิ์ของยา
 • ก่อให้เกิดปัญหาโรคเอดส์

โทษภัยต่อประเทศชาติ
 • บ่อนทำลายเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศชาติ
 • รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายในการป้องกันปร าบปรามและรักษาผู้ติดยาเสพติดจำนวนมาก
 • สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับการพัฒนาประเทศ
 • เพิ่มภาระการเสียภาษีของประชาชน เพราะรัฐบาลต้องนำภาษีของประชาชนไปใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหายาเสพ ติด
 • การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า
 • สูญเสียแรงงานในการปฏิบัติงานทำให้ประเทศขาดรายได้
 • ประเทศชาติต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ในสายตาของชาวต่างประเทศ
 • อาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งทางการเมืองหรือความไม่สงบระหว่างประเทศ
 • ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อชาติอาจใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องมือในการบ่ อนทำลายความมั่นคง
 • ประเทศชาติพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า



วีดีโอ ประหารชีวิตนักโทษยาเสพติด


ยาสี่คูณร้อย




ตัวประกอบมีห้าชนิดด้วยกัน คือ

  1.ยาแก้ไอ ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นยาควบคุมการใช้ ที่ผู้ขายต้องมีใบอนุญาต และผู้ซื้อต้องซื้อตามใบสั่งของแพทย์
  2.น้ำใบกระท่อม นำใบกระท่อมมาต้ม
  3.ยากันยุงชนิดขด
  4.น้ำอัดลมชนิดหนึ่งหรือยาเเก้ไอ
  5.สารฟลูออเรสเซนต์

พิษของยาสี่คูณร้อย

        ขึ้นชื่อว่าสิ่งเสพติดไม่มีคำว่าดีต่อสุขภาพอยู่เเล้ว ถึงเเม้ยาสี่คูณร้อยจะมีส่วนผสมของใบกระท่อม เเละยิ่งมีสูตรใหม่ที่มีการนำเอาสารฟลูออเรสเซนต์ เข้ามาเป็นส่วนผสมด้วยเเล้วยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่ สารชนิดนี้เมื่อโดนบาดแผลของเรา หรือเราโดนเศษแก้วจากหลอดไฟที่มีสารชนิดนี้บาด จะเป็นบาดแผลที่รักษาได้ยากมาก เเละหากเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร อาจจะถึงตายได้ โดยเฉพาะการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด เนื่องจากสารฟลูออเรสเซนต์ในหลอดไฟ รวมถึงสารในยากันยุงและกัมม็อกโซน มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งคือจะเป็นตัวเร่งให้สารเสพติดเข้าสู่กระแสเลือดและเม็ดเลือดได้เร็วขึ้น จนส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการมึนเมาได้ในไม่ช้า


จับวัยรุ่นสตูล ที่มั่วสุ่มยา 4 คูณ 100

ใบกระท่อมสารเพิ่มพลังคนจน



ตัวอย่างอาการของผู้เสพ

          ภายหลังเคี้ยวใบกระท่อม 5-10 นาที จะรู้สึกรื่นเริงแจ่มใส มีพละกำลัง ทำงานโดยไม่เหน็ดเหนื่อย หายปวดเมื่อย ทำให้ทำสวนได้เป็นเวลานานกว่าปกติ และจะชอบพูดคุยสนุกสนาน ไม่กลัวแดดแต่กลัวฝน เพียงแต่เห็นเมฆตั้งเค้ามาก้จะมีอาการหนาวสั่นและต้องหลบเข้าไปอยู่ในบ้านทันที

ประวัติ

        กระท่อมเป็นไม้ป่าชนิดยืนต้น สูงประมาณ 15-20 เมตร พบในป่าดิบแถบเอเชียอาคเนย์ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบมากในภาคใต้และภาคกลาง
       ชาวนาและชาวสวนรู้จักใบกระท่อมมาเป็นเวลานาน โดยนำใบมาเคี้ยวดิบ ๆ จะหายปวดเมื่อย แข็งแรง มีพละกำลัง ทำงานได้นาน และมีอารมณ์ดี ใบของกระท่อมเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 6-9 เซนติดเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ดอกกระท่อมรูปทรงสวย ทรงกลมคล้ายดอกกระถิน เมื่อแรกบานสีขาวนวล แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาล ผลกระท่อมสดรูปทรงกลม ผู้ที่ติดฝิ่นจะเสพใบกระท่อมแทนถ้าหาฝิ่นไม่ได้
*แพทย์แผนโบราณใช้ใบกระท่อมรักษาอาการปวดท้องและท้องเดิน


การแพร่ระบาด

        ในประเทศไทยมีการเสพใบกระท่อมตามชนบทที่อยู่ห่างไกลส่วนใหญ่ในภาคใต้และภาคกลาง ส่วนใหญ่ของผู้เสพคือ ชาวสวนและชาวนา เมื่อตำรวจตระเวนชายแดนพบก็จะทำลายทิ้ง

รูปแบบของสาร

        สารเคมีที่มีอยู่ในใบกระท่อมเรียกว่า cathinone มีฤทธิ์เหมือน แอมเฟทามีน วิธิเสพทำได้ 2 วิธี คือ เคี้ยวใบดิบ ๆ หรือตากใจจนแห้งแล้วนำไปบดเป็นผง และนำมาชงกับน้ำร้อนรับประทาน

อาการ

        ผู้ป่วยมีอารมณ์รื่นเริงแจ่มใส มีพละกำลัง หายปวดเมื่อย ทำงานโดยไม่เหน็ดเหนื่อยไม่กลัวแดด แต่กลัวฝนเพียงเห็นเมฆตั้งเค้าก็มีอาการหนาวสั่น ผู้ที่เสพเป็นเวลานานผิวหนังจะดำเกรียมคล้ายถูกแดดจัด มีอาการท้องผูก เสพครั้งหนึ่งจะออกฤทธิ์นาน 3 – 4 ชั่วโมง พอหมดฤทธิ์ก็ต้องเสพอีก คนที่ไม่เคยเสพมาก่อนจะมีอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะ คอแห้ง คลื่นไส้และอาเจียน

อันตรายและพิษของสาร

-          เกิดอาการเสพย์ติด ถ้าไม่เสพจะมีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่าย ก้าวร้าวและมี
-          พฤติกรรมรุนแรง
-          มีอารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่ายชีวิต
-          ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่อยากทำงานใด ๆ ทั้งสิ้น
-          ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ
-          เบื่ออาหาร และนอนไม่หลับ
-          ผิวหนังไหม้เกรียมเพราะถูกแดดจัดเป็นเวลานาน ๆ มีความเสี่ยงต่อการ
-          เป็นมะเร็งของผิวหนัง

การรักษา

ให้หยุดเสพและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะไม่มีอันตราย
ให้ยากล่อมประสาทเพื่อให้ผู้ป่วยได้พัก สบายใจและนอนหลับ